วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ได้ Host Family แล้ว

เดือนสิงหาคม จะเป็นเดือนที่โรงเรียนต่างๆในอเมริกา เริ่มเปิดเรียน ซึ่งจะมีเวลาเปิดแตกต่างกัน ซึ่งบางคนก็ได้โฮสแล้ว ซึ่งของลูกชายยังไม่ได้ Host Family อ้อ....ย้อนกลับไปนิดหลังงานรับเกียรติบัตรซึ่งก็เป็นต้นเดือน กรกฎาคม พี่ๆทางโครงการก็จะเริ่มนัดหมายน้องๆในการสัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ในการสัมภาษณ์วีซ่าก็จะมีที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ โดยน้องๆ ที่มีภูมิลำเนาตั้งแต่จังหวัดพิษณุโลกขึ้นไป ต้องมีการไปทำใบออกนอกราชอาณาจักรที่อำเภอในภูมิลำเนาของน้องแต่ละคน โดยคุณพ่อคุณแม่จะต้องไปเซนต์ให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อทำเสร็จก็ต้องส่งเอกสารให้โครงการ หลังจากนั้นก็รอนัดหมายการไปสัมภาษณ์วีซ่า ซึ่งน้องๆ ควรจะต้องมีการฝึกฝนทักษะการฟัง พูด เพราะในการสัมภาษณ์วีซ่า เราต้องเข้าไปสัมภาษณ์ลำพัง และตอบคำถามของเจ้าหน้าที่สถานทูตอย่างมั่นใจ และผลสัมภาษณ์ก็ผ่านไปด้วยดี จากนั้นก็รอเรื่องแมทโฮสแฟมิรี่ จำได้ว่าคุณแม่ได้ไปร่วมกิจกรรมวันแม่ 11 สิงหาคม ที่โรงเรียนลูกสาวคนเล็กระหว่างใกล้เสร็จกิจกรรม มีเสียงโทรศัพท์จากพี่ที่โครงการ โทรมาแจ้งว่ายินดีด้วยน้องได้โฮสแล้ว เย้ๆๆ คือตอนนั้นตื่นเต้นมาก เพราะกังวลเหมือนกันว่าจะได้โฮสไหม ซึ่งพี่ๆแจ้งว่าทางมูลนิธิที่อเมริกา ยืนยันว่าได้ทุกคนภายใน 31 สิงหาคม จากนั้นเราก็จะได้รับ Mail จากโครงการ โดยจะเป็นข้อมูล อาชีพ สถานภาพ ที่อยู่ของโฮส ที่รับอุปถัมภ์ลูกชาย และให้เรายืนยันตอบรับทางเอกสาร และให้ลูกชายติดต่อกลับโฮสแฟมิรี่ โดยด่วน และก็ได้ติดต่อทักทายกันทางเมลล์ เบื้องต้น ในการแนะนำตัว และขอบคุณโฮสที่รับอุปถัมภ์ ในบทต่อไปก็จะมาเล่าถึงการเตรียมตัวเดินทาง และสิ่งที่ต้องเตรียมนะคะ ติดตามตอนต่อไปนะคะ

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ค่ายฯก่อนการเดินทางไปศึกษาต่อ

   ต้นเดือนหน้าโครงการ AYC ที่มีค่ายปฐมนิเทศนักเรียนแลกเปลี่ยน รุ่นที่ 16 ซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้จะมีรุ่นพี่รุ่นที่ 15 มาแนะนำน้องๆ ถึงการใช้ชิวิต ประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา โดยจะมีพี่พีท มาร่วมในครั้งนี้ด้วย และอีกหลายๆกิจกรรม ในการเตรียมความพร้อมในการที่จะเดินทางความเข้าใจด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม และทราบข้อมูลในการเตรียมตัวอย่างละเอียด ก่อนการเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งค่ายนี้จะรวมนักเรียนแลกเปลี่ยนสหรัฐอเมริกา,แคนาดา,เยอรมัน,เนเธอร์แลนด์,สวีเดน,ฝรั่งเศส,เซาท์แอฟริกา,ญี่ปุ่น และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่น 16 เจอกันวันค่ายนะคะ ส่วนคุณแม่อยากเจอะพี่พีท หลังจากคุยทางเฟสบุค 55



วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กว่าจะได้โฮส

 ตามที่โครงการแลกเปลี่ยนฯ ได้มีการเปิดรับสมัคร และให้มีการเตรียมตัว เตรียมเอกสารต่างๆ ล่วงหน้าเกือบปี ช่วงตั้งแต่มีนาคม เป็นต้นมาก็จะมีเด็กๆ ที่ได้โฮสบ้างแล้ว วันนี้ก็ได้ข่าวหลานสาวได้โฮสเป็นที่เรียบร้อย มีโรงเรียน กำหนดเปิดเรียน เทอมการศึกษา และวันจบการศึกษา พร้อมทั้งหลักแหล่งโฮส อาชีพ เบอร์ติดต่อ เมืองที่จะไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ซึ่งของครอบครัวเรายังไม่ได้ แต่คงคิดว่าเร็วๆนี้ คงจะมีข่าวดี สำหรับใครที่ได้แล้วก็ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ และเตรียมจัดกระเป๋ารอกันได้เลย แต่เราก็ยังมีหน้าที่ในส่วนการเรียนที่เมืองไทย วันนี้คุณแม่ไปประชุมผู้ปกครองมา ก็หาข้อมูล โดยคุณครูแจ้งว่า ให้มาทำเรื่องพักการเรียนก่อนเดินทางสองสัปดาห์ และส่วนใหญ่จะเดินทางหลังสอบมิดเทอม คุณครูแจ้งว่าให้ตามคะแนนเก็บ คะแนนสอบเป็นหลักฐานไว้ ซึ่งไม่ว่าเราจะกลับมาจะชั้นหรือไม่ซ้ำก็ต้องเก็บไว้ เพราะมีผลกับเกรดเฉลี่ยสะสม  สำหรับเด็กชายก็จะมีเรื่องพักการเรียน รด.  นักศึกษาวิชาทหาร แล้วก็มีเรื่องการเทียบเกรด ฯลฯ ถ้าเราจะไม่กลับมาซ้ำชั้น ในตอนหน้าเราก็จะมาคุยต่อในเรื่องการพักการเรียน การโอนเทียบเกรด กันต่อ ขอคุณแม่ไปหาข้อมูลแบบถูกต้อง แล้วจะมาแบ่งปันในตอนต่อๆไปนะคะ

 ปล. รอโฮสต่อไป.......

วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเตรียมประวัติวัคซีน

      มาถึงอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญที่จะต้องส่งไปพร้อมใบสมัคร คือประวัติวัคซีน อันนี้คุณแม่ขอบอกเลยว่าสุดๆๆ ดีที่ว่าที่บ้านมีเก็บสมุดบันทึกสุขภาพลูกตอนแรกเกิดไว้ทุกคน ซึ่งจะเป็นที่ลงบันทึกตั้งแต่ตอนคลอด วัคซีนพื้นฐานคือคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DTP), วัคซีนบีซีจี ป้องกันวัณโรค (BCG) , โปลิโอ(Polio) ,ไวรัสตับ เอ/บี (HIP A,B) ,ไข้สมองอักเสบ,หัด/หัดเยอรมัน/คางทูม ฯลฯ เราก็คิดว่าเราเก็บครบที่ไหนได้ไม่ครบตามจำนวนค่ะ


     เอาล่ะสิมันขาดช่วงชั้นประถม คือไม่มีในสมุดเลย ก็จะเป็นวัคซีนบาดทะยัก ,หัด/คางทูม/หัดเยอรมัน, ไวรัสตับอักเสบ บี เพราะต้องมีกระตุ้นช่วง ป.6 เอาสิไม่มีในเล่มสุขภาพ เสียเงินฉีดเพิ่มสิคะ แต่ถ้าฉีดแล้วไม่มีประวัติ ฉีดซ้ำจะเยอะเกินไหม พอดีไปปรึกษาคุณหมอที่เคยทำคลอดให้ คุณหมอใจดีมาก และมาดูแลศูนย์สุขภาพเมืองพอดี คุณหมอให้ติดต่อพยาบาลที่ดูแลเรื่องวัคซีน รร. พี่พยาบาลบอกว่าทุกที่มีไปฉีดที่ รร.นะ ลูกจบกี่ปีแล้ว ลองเช็คประวัติที่ศูนย์ฯก่อนไหม เผื่อเจอประวัติ เป็นงานสิคะ 2-3 ปีผ่านไป เสียเงินดีกว่าไหม จะลำบากเจ้าหน้าที่ แต่เอะใจว่าอืม ฉีดที่โรงเรียน ก็ไปถามโรงเรียนดีไหม คุณแม่ก็ไปถามสิคะ รออะไร ไปถามครูพยาบาลเลยค่ะ 555 ได้เรื่องค่ะ ครูบอกว่ามีสมุดระเบียนสุขภาพนะ เล่มสีเหลือง ลองไปถามครูประจำชั้นสิ ก็ตามนั้นค่ะไปถามครูประจำชั้นบอกแจกไปตอนจบกับพวกสมุดพก อ้าวรู้ล่ะไปค้นที่บ้านค่ะ แต่.....ที่บ้านไม่มี เล่มสีเหลืองดันหาย แต่เจอของน้องชายมีและมีประวัติฉีดกนะตุ้น ที่ต้องการด้วย แล้วของพี่ชายล่ะ หายไปไหน ย้อนกลับไปถามครูประจำชั้น แจกหมดนะ ถ้าไม่มีก็ไม่รู้ว่าครูช่วงชั้นประถมต้น  ป.3  ส่งขึ้นมาไหม ( คือมันจะมีช่วงกระตุ้น ป.1 กับ ป.6 ค่ะ )ไปถามเลยค่ะ ครู ป.1 (ปล.ตอนนี้ลูก ม.3 คิดดูว่านานไหมคะ ครูจะจำได้ไหมหนอ ) ครูป.1 บอกส่ง เอาส่งก็ส่งจะไปเถียงครูทำไม ไป ป.3 ต่อ ส่งอีกเอกสารไม่มีตกค้างนะคะ  ส่่งก็ส่ง ไปต่อ ป.4 อ้าวส่งต่อไป ป.5 ,ป.5 ก็บอกส่งขึ้น ป.6  ความพยายามมีไหมตอบ มันจบแล้วค่ะ เสียเงินก็เสีย .............ตกลงว่าจะไปฉีดกระตุ้นก่อนนะ เดี๋ยวมีวัคซีนอื่นอีก  เช้าวันจันทร์ นั่งทำงานอยู่ มีสายเข้าครู ป.6 โทรมา คำแรก "ฮัลโหล คุณแม่ เจอสมุดระเบียนลูกชายล่ะนะ " ย้ำอีกครั้งหูไม่ดี เจอแล้วเหรอคะ ค่ะๆๆๆเดี๋ยวไปเอาที่โรงเรียนค่ะ ครูเล่าว่าค้นตู้เจอเล่มเหลืองอยู่กองหนึ่งดูชื่อเป็นห้องรุ่นลูกชายนี่แหละ ประมาณ 20 เล่ม ลืมใส่ซองให้พร้อมสมุดพก โอ้....สวรรค์ ไม่ต้องฉีดซ้ำซ้อน ขอบคุณจริงๆๆ ( ปล.เรื่องนี้สอนคุณแม่ว่าประวัติลูกที่ทาง รร.ส่งคืน ต้องเช็คให้ครบ )

     ยังค่ะไม่จบวัคซีนที่ทางอเมริกาบังคับเด็กต้องฉีด คือ กาฬหลังแอ่น Menacta ราคาแพงมาก 3,000 ขึ้น เช็คทุก รพ.ค่ะมีไหม เพราะไม่อยากไปกรุงเทพฯ ไม่มี แต่โชคดีว่า รพ.กรุงเทพฯ ที่มาเปิดสาขามีสต๊อกพอดี ก็พร้อมฉีดเลย , Test วัณโรค  แต่ปัญหามีอีกค่ะ ไวรัสตับอักเสบ A ต้องฉีด 2 เข็ม ในประวัติไม่มีเลยสักเข็ม  ถามคุณหมอๆบอกว่า ตับ A สมัยก่อนไม่บังคับฉีด และวัคซีนขาดตลาดมานานมาก ทุก รพ.ไม่มีหมด มีที่กรุงเทพฯ อีกแล้ว เอาอย่างไรดี ไปปรึกษาหมอเด็กที่รักษาอยู่ คุณหมอบอกวัคซีนขาดตลาด แต่ถ้าเข้าจะบอก เราก็แจ้งทางโครงการไปว่า ค้างไว้ก่อนนะคะ ประวัติฉีดเมื่อไหร่ก็ส่งเพิ่ม ประมาณ ตุลาคม  คุณหมอบอกวัคซีนเข้ามาแล้วก็ไปฉีด และต้องกระตุ้นอีกเข็มภายใน 6 เดือน คือประมาณ เมษายน ถึงจะส่งประวัติวัคซีนให้มูลนิธิอีกรอบ
     
      ประมาณปลายๆ ก.พ. พี่ที่โครงการโทรมาแจ้งว่าทางมูลนิธิ ISE ที่อเมริกา มีคอมเม้นท์ มาให้น้องฉีดกาฬหลังแอ่น กระตุ้นอีก 1 เข็ม เพราะน้องยังไม่ถึง 18 ปี ถ้า 18 ฉีดเข็มเดียว โอ้ 3,000 กว่า เข็ม 2 เข็มสองเราไม่ว่าแต่เข็มหนึ่งป้องกันได้ 5 ปี ทำไมต้องฉีด แล้วฉีดซ้ำจะมากเกินไปไหม แต่โครงการยืนยันให้ฉีด เพราะถ้าไปฉีดที่อเมริกา ก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนจะแพงมาก  เอาสิก็ไปเช็คข้อมูลหลายๆหมอ ก็ยืนยันเข็มเดียวพอ ไปถามผู้ปกครองที่ได้อีกมูลนิธิ ICES ไม่มีคอมเม้นท์มา คุณแม่ก็พยายามหาข้อมูลทั้งที่อเมริกาและคุณหมอ คุณหมอเด็กบอกกระตุ้นได้ไม่อันตราย แต่แพง เพราะอเมริกาซีเรียสเรื่องพวกนี้มาก และอีกอย่างอเมริกากลัวเอาโรคไปปล่อย และอีกอย่างก็มีคนจากทั่วโลกไปอยู่ที่โน่น ซึ่งอาจจะแพร่เชื้อได้ เอาน่าเราลงทุนส่งลูกไปแลกเปลี่ยนไม่ใช่บาทสองบาท ฉีดให้ครบ เพราะถ้าไม่สบายที่โน่นเราจะเสียเยอะกว่า ทำตามคำแนะนำของมูลนิธิฯ และปรึกษาคุณหมออีกแรง เราเป็นพ่อแม่ก็สบายใจ

      สรุปแค่เรื่องวัคซีนก็ยาวมากค่ะ ฉะนั้นสมุดสุขภาพลูกสำคัญเก็บให้ครบ  ลูกเราไปอยู่ไกลบ้านฉีดไปเถอะค่ะ ป้องกัน เสียน้อยเสียมาก เสียยากเสียง่าย ลงทุนไปแล้วอีกนิดเพื่อความสบายใจทุกฝ่าย

สัมภาษณ์ VISA J-1 USA (วีซานักเรียนระยะสั้น)

การเขียนจดหมายถึงโฮส


 ในการกรอกใบสมัครเข้ามูลนิธิในอเมริกา จดหมายถึงโฮสจะต้องมีโดยจะมี 2 ฉบับคือ

  • นักเรียนถึงโฮส ก็จะประมาณเป็นการแนะนำตัวเอง ชื่อ ชื่อเล่น อายุ ประวัติความเป็นมา เรียนชั้นไหน โรงเรียนอะไร อยู่ที่ไหน มีพี่น้องกี่คน ชอบทำกิจกรรมอะไร และไปแลกเปลี่ยนเพื่ออะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร ก็ให้เขียนบรรยายตัวตนไป ซึ่งโฮสจะเลือกเราจากจดหมายที่เขียน ที่อธิบายตัวตน และตรงใจโฮส
  • ผู้ปกครองถึงโฮส ก็จะประมาณว่าแนะนำตัว สมาชิกในครอบครัว แนะนำ และรับรองลูกที่จะไปแลกเปลี่ยน สำทับจดหมายของลูกอีกครั้ง 





การเตรียมตัวสำหรับการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน - ใบสมัคร


1.การกรอกใบสมัคร


       เมื่อได้ชำระเงินเข้าร่วมโครงการแล้ว ทางโครงการจะส่งใบสมัครมาให้กรอก และเตรียมเอกสารต่างๆ เบื้องต้น ซึ่งแล้วแต่ว่าใครจะได้มูลนิธิอะไร ที่โครงการมีส่วนหลายมูลนิธิมาก ลูกได้มูลนิธิ ISE ซึ่งก็เป็นมูลนิธิใหญ่ โดยหากระบุรัฐจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งเราไม่ได้ระบุให้ทางมูลนิธิจัดหาให้ เมื่อได้เอกสารแล้วก็ดำเนินการกรอกใบสมัครซึ่งจะมี
  1. ข้อมูลส่วนตัว
  2. ประวัติวัคซีน โดยต้องมีแพทย์รับรอง 
  3. รูปถ่าย (ดูดีที่สุด) เพราะโฮสจะเลือกจากรูปถ่าย
  4. ภาพกิจกรรมต่างๆประกอบในใบสมัคร
  5. วุฒิการศึกษาภาษาอังกฤษ
  6. หนังสือรับรองจากครูที่โรงเรียนที่สอน 
  7. จดหมายแนะนำตัวเองถึงโฮสเป็นภาษาอังกฤษ 
  8. จดหมายพ่อแม่ถึงโฮสเป็นภาษาอังกฤษ


10 Month In USA ( Exchange Student In USA )

10 เดือนในอเมริกา เป็นอย่างไร การปรับตัว การสื่อสาร วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผู้คนและอื่นๆ

เลือกโครงการไหนดี

จากความเดิมตอนที่แล้ว เราจะมาเล่าถึงผลการสอบ โครงการ YFU อเมริกาจะมีโควต้าที่ 70 คน(อายุไม่ถึงเกณฑ์ แต่จริงๆได้ข้อมูลว่าสามารถเลือกได้และคุยกับโครงการ ) สรุปติดตัวสำรอง และประเทศสำรองคือ ญี่ปุ่น ส่วน AYC และ BWK ติดประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วก็มาถึงวาระคิดหนักคือ ญี่ปุ่น จะต้องมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแต่เป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่ง ซึ่งรู้สึกจะจัดปฐมนิเทศที่ ม.กรุงเทพ รังสิต ปลายๆเดือน มิถุนายน แต่ก็ตัดสินใจว่าไม่เลือก เพราะเราพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ และก็อยากเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่พอจะสื่อสารและมีพื้นฐานจึงเหลืออีกสองโครงการให้เลือก ซึ่งในตอนนั้นคุณแม่ยอมรับว่าไม่ได้ศึกษาในอีกหลายๆโครงการที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น YES , OEG ( มีญาติเคยเดินทางไปกับสองโครงการนี้ ) แล้วก็มาที่ต้องตัดสินใจไปปฐมนิเทศของโครงการ AYC , BWK ซึ่งได้รับจดหมายจากโครงการที่แจ้งนัดหมายประชุม ฺBWK จะจัดก่อนประมาณต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนก็เป็น AYC ทราบข้อมูลเบื้องต้นคือต้องชำระค่าลงทะเบียนเลย จากนั้นก็พยายามหาข้อมูลว่าจะไปกับโครงการไหนดี เพราะอยู่ต่างจังหวัด เราก็ไม่อยากเดินทางหลายครั้ง แต่เคยถามพี่สาวก็เป็นโครงการที่ดูแลเด็กดี แต่โครงการค่อนข้างใหม่ ที่น้องได้จะเป็นรุ่นที่ 4 ซึ่ง AYC เป็นรุ่นที่ 16 จากนั้นคุณแม่ก็พยายามใช้ Social ให้เป็นประโยชน์ โดยการส่องเฟสน้องๆในโครงการ ซึ่งบางคนเปิดเป็นสาธารณะ และเฟสบุคของ BWK ก็จะมีโพสต์ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง ต่างๆของกิจกรรม แต่ AYC ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่จะภาพรวม ทำให้เราไม่ให้ชีวิตของเด็กๆในโครงการ ( ข้อมูลจากปี 2016 ) และพอดีได้เห็นเฟสพี่สาวอีกคนที่ลงรูปลูกเดินทางไปแลกเปลี่ยนกับโครงการ YES เราก็เริ่มรู้จักอีก 1 โครงการ ซึ่งรู้สึกตอนนั้นจะสอบและประกาศผลรอบแรกไปแล้ว ปรึกษาพีๆ ก็แนะนำว่าให้เลือกโครงการที่มีหลายๆรุ่น เพราะมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา หรือจัดการ อ่านตามพันทิปบ้างไรบ้างเพื่อเก็บข้อมูล แต่สรุปโดยรวมทุกโครงการก็อาจมีปัญหา ฉะนั้นเราจึงสรุปที่จะไปกับโครงการที่มีหลายรุ่น คือ AYC#16

ปล.แต่คุณแม่ก็มาทราบทีหลังว่าทุกๆโครงการจะมีการเปิดสมัครสอบรอบสอง กรณีโควต้าแต่ละประเทศไม่เต็ม หรือมีนักเรียนที่สอบได้และไม่พร้อมเดินทาง หรือบางคนอาจสอบเพื่อทดสอบความรู้

น้องๆ ที่สนใจลองอ่านข้อมูลตามลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ

http://www.aycthailand.com/
https://www.afsthailand.org/
http://www.yfuth.learning-inter.org/
http://www.yesthailand.org/index_th.asp
http://bwkinternational.com/bwk/


สมัครสอบนักเรียนแลกเปลี่ยน

จากตอนที่แล้ว หลังจากรับสมัครสอบ AFS ผ่านไปลูกชายไม่ได้สมัคร คุณแม่ก็พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับการไปแลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร แต่ก่อนหน้านี้ก็จะมีพี่สาวที่ส่งลูกไปเรียน Summer กับโครงการ BWK ชื่อไม่คุ้น เพราะยังมีไม่กี่รุ่น และในต่างจังหวัดแทบไม่รู้จัก แต่ของหลานชายรู้สึกจะได้ลำดับต้นๆ มีทุนสมทบบางส่วน หลานชายไปหนึ่งเดือนที่ซานดิเอโก้ อเมริกา คุณแม่ก็ศึกษาข้อมูลต่อไป เย็นวันหนึ่งหลังเลิกเรียน ลูกชายมาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนๆที่สอบ AFS ติดเพียบเลย ก็อาจจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้ลูกชายเกิดความมั่นใจในการที่จะสมัครสอบ และเราก็เริ่มหาข้อมูลโครงการอื่นๆ ที่ยังมีการรับสมัคร ก็จะมี YFU/AYC/BWK ลูกชายสมัครหมดที่เปิดรับ ซึ่ง YFU เป็นอะไรที่มีรุ่นพี่ในโรงเรียนไปกันอยู่บ้าง แต่เพราะวันเดินทางลูกอายุไม่ถึง 16 ปี เลือก USA ไม่ได้ จึงเลือกเยอรมัน ลำดับสองญี่ปุ่น ส่วน AYC สามารถเลือก USA ได้ รวมถึง BWK แต่สำหรับ BWK ที่โรงเรียนไม่ใช่ศูนย์สอบคุณแม่จึงไปดำเนินเรื่องสมัครสอบที่โรงเรียนสตรี ประจำจังหวัด ซึ่งคุณครูแนะนำให้ข้อมูลดีมากค่ะ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเปิดรับสมัครในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งมีหลากหลายโครงการไม่ว่าจะเป็น AFS,YFU,BWK,AYC,OEG,YES,EF,ROTARY และอื่นๆอีกมากมาย แล้วตอนต่อไปเราจะมาเล่าถึงผลการสอบและการตัดสินใจเลือกโครงการ โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ก่อนจะเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน (ตอน2)

จากการที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียน 2 ภาษามาก่อนเมื่อต้องมาเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ค่อนข้างยาก เพราะที่โรงเรียนนี้จะสอนโดยครูต่างชาติทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทย ตอนเรียนชั้น M1 ต้องมีการปรับตัวและทำความเข้าใจกับสำเนียงภาษาของครูชาวต่างชาติ ซึ่งมีทั้งฟิลิปปินส์ อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งครูชาวต่างชาติของโรงเรียนนี้จะไม่พูดภาษาไทยกับนักเรียนเลยถึงแม้จะพูดได้ และการเรียนก็มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆตามลำดับ เมื่อเรียนมาจนถึงระดับชั้น M3 ช่วงเทอมหนึ่งก็เริ่มมีการรับสมัครสอบนักเรียนแลกเปลี่ยนของ AFS  ซึ่งในความคิดที่ผ่านมาตั้งแต่ M1-2 ก็ยังไม่มีความคิด แต่เมื่อเรียนM3 ได้ยินข่าวการรับสมัคร ก็ถามลูกว่าลองสมัครไหม อย่างน้อยเราก็ได้ทดสอบภาษาอังกฤษที่เราเรียนมากว่าสองปี แต่ลูกบอกยากเลยไม่สมัคร แต่เพื่อนๆสอบกันเยอะ แล้วเราจะมาเล่าในตอนต่อไปว่าเพราะอะไรถึงตัดสินใจสอบโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน

ก่อนจะเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน

ในโลกยุคปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้น คนที่มีความสามารถติดต่อสื่อสารได้ จะมีโอกาสมากกว่า และการเรียนรู้กับเจ้าของภาษาจะดีที่สุด เมื่อลูกจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ต้องสอบเข้าเรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่ฮิตติดอันดับมากคือ สาธิตฯ ซึ่งมีการแข่งขันกันมากๆๆ ซึ่งลูกก็ได้สมัครสอบเช่นกัน แต่ด้วยการแข่งขันสูง เน้นวิทย์-คณิต เราจึงผิดหวังการการสอบแข่งขันรอบแรก และก็ได้มาสมัครในรอบห้องเรียนพิเศษ ในรอบนี้ก็จะมี 2 โปรแกรม คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และลูกก็เลือกที่จะสอบแข่งขันในโปรแกรมใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Programme) เพราะจำนวนคู่แข่งน้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง ผลออกมาคือลูกชายสอบติด จากจำนวนรับ 60 คน ลูกติดอันดับที่ 31  ด้วยการที่ลูกไม่ได้เรียนสองภาษามาในระดับประถม มันจึงเป็นการเริ่มจากศูนย์ แล้วติดตามต่อในตอนถัดไปเราจะเล่าถึงชีวิตในการเรียนจาก M1